ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนาย อารีย์ ตันติเวชกุล อดีต ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ท่านผู้หญิง ประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องพระกระยาหารไทยในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมรสกับคุณหญิง จินตนา ตันติเวชกุล อาจารย์ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การศึกษา
- วชิราวุธวิทยาลัย
- ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียตนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
- ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
- ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier) ประเทศฝรั่งเศส
- ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
- วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
การทำงาน
พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
- พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
รางวัลเกียรติคุณ
รางวัลบุคคลตัวอย่างประจำปี 2537
- รางวัลผู้บริหารราชการ ดีเด่น ประจำปี 2538
- รางวัลบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
- รางวัลบุคคล ดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
หนังสือที่แต่ง
-ใต้เบื้องพระยุคลบาท ,2543
- หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ,2549
เหตุผลที่ชอบท่าน
เพราะท่านเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและยังเป็นคนที่รู้จักกันในสังคมไทยและท่านยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในสังคมได้และท่านเป็นพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 2
ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
หลักการ/เจ้าของทฤษฏี
โบรฟี (สุภวรรรณ:2551) ได้กล่าวถึงการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า หมายถึงการที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้และที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพการสร้างกฏระเบียและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง
เบอร์เดน (ศุภวรรณ : 2551 ) ให้คำจำกัดความของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นยุทศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซูซาน (ศุภวรรณ : 2551 ) ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึนในชั้นเรียนซึ่ง๔อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ต่อไป
การนำหลักไปใช้ฝ
นำไปบริหารจัดชั้นเรียนเวลาสอนนักเรียนจริงในอณาคตเช่นหลักการจัดบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนการสอน
สรุปไดว่า เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ
กิจกรรมที่ 1
ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า การจัดการชั้นเรียน จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่1
ความหมาย การจัดการชั้นเรียน
กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับแต่บุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
การจัดการชั้นเรียนสรุปได้ว่า
การจัดการชั้นเรียนหมายถึง กิจกรรมที่ทำรวมกันเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ความสามรถหรือพัฒนาบุคคลตรงเป้าหมายที่ต้องการทางสังคม
ความหมาย การจัดการชั้นเรียน
กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับแต่บุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
การจัดการชั้นเรียนสรุปได้ว่า
การจัดการชั้นเรียนหมายถึง กิจกรรมที่ทำรวมกันเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ความสามรถหรือพัฒนาบุคคลตรงเป้าหมายที่ต้องการทางสังคม
วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประวัติส่วนตัว
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาว สมฤดี ตีมุง ชื่อเล่น ฮา
เกิดวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ 2531
มีพี่น้อง 3 คน ดิฉันเป็นคนที่หนึ่ง
บิดากับมารดามีอาชีพค้าขาย
อยู่บ้านเลขที่ 184 หมู่7 ตำบลแว้ง อำภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ประวัติการศึกษา
- เรียนอนุบาลที่โรงรียนวุฒิศาสตร์ อำเภอแว้ง
- เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านฆอลาะทูวอ อำเภอแว้ง
- เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนรอมาเนีย อำเภอแว้ง
- ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่ 3
ปรัชญา
ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น
ชื่อ นางสาว สมฤดี ตีมุง ชื่อเล่น ฮา
เกิดวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ 2531
มีพี่น้อง 3 คน ดิฉันเป็นคนที่หนึ่ง
บิดากับมารดามีอาชีพค้าขาย
อยู่บ้านเลขที่ 184 หมู่7 ตำบลแว้ง อำภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ประวัติการศึกษา
- เรียนอนุบาลที่โรงรียนวุฒิศาสตร์ อำเภอแว้ง
- เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านฆอลาะทูวอ อำเภอแว้ง
- เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนรอมาเนีย อำเภอแว้ง
- ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่ 3
ปรัชญา
ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)