วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิกรรมที่12


ความประทับใจ
การเดินทางออกภาคสนามครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้หลายอย่าง เริ่มจากการรักษาเวลา การตรงต่อเวลา การสังเกตถึงสภาพแวดล้อมข้างทางที่ได้ผ่านแต่ละแหล่งจะมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น ลักษณะของภูเขา บางพื้นที่ก็เป็นที่ราบกว้าง ที่ราบลูกฟูกแตกต่างกันออกไปจากลักษณะของสภาพแวดล้อมก็จะเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของแต่ละพื้นที่ อาหารการกิน ความเป็นอยู่ที่แต่ต่างจากภาคใต้  ได้เห็นโบราณสถานที่ยังคงเหลืออยู่เห็นแล้วรู้สึกเศร้าใจที่พระพุทธรูปไม่มีเศียร เช่นที่วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งส่วนใหญ่พระพุทธรูปจะไม่มีเศียรแต่ก็ยังมีหลักฐานให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษาเหตุการณ์ในอดีตได้เห็นศิลปะที่ยังคงเหลืออยู่ รู้สึกว่าอากาศเริ่มจะหนาวขึ้นเรื่อยๆได้เดินทางไปชมพระตำหนักซึ่งประดับตกแต่งด้วยไม้พันธุ์หลายชนิดแต่ละมุมสวยมากจะมีผู้คนเข้าชมมากทั้งคนไทยและต่างชาติอากาศตอนนี้หนาวจริงๆแต่หนาวไม่เท่ากับบนดอยอินทนนท์ที่ได้ไปนอนในเต็นกัน การอาบน้ำรู้สึกว่าไม่อยากจะอาบเพราะน้ำเย็นมาก อาบแล้วชาไปทั้งตัวประทับใจมากที่ได้สัมผัสอากาศแบบนี้ตอนรู้สึกว่าว่าการออกภาคสนามครั้งนี้ได้รู้ได้เห็นสิ่งใหม่ๆมากมายได้สัมผัสอากาศทั้ง3ฤดูทั้ง ฤดูหนาว ฤดูร้อนและฤดูฝนเป็นประสบการณ์ที่ไม่อาจลืม

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจรรมที่10

1)               กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
กรณีเขาพระวิหารนี้คิดว่าเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป