วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่  ๙ (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

                ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
๑.ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
           ๒. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
           ๓.  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิด ประโยชน์แก่ตนและสังคม
         ๔.ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ สังคม
          ๕. ความเป็นผู้มีความคิด ริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
           ๖. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
           ๗. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
           ๘. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
          ๙. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
         ๑๐. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปันเกื้อกูลผู้อื่นในเรื่องของเวลากำลัง กายและกำลังทรัพย์ การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
          ๑.   ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
         ๒มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
          ๓.   มีบุคลิกภาพที่ดี
          ๔.   มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
          ๕.   มีความอดทน
          ๖.  มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
          ๗.มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
           ๘.มีความจริงใจ
           ๙.มีลักษณะเป็นผู้นำ

               คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความ สามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็น ตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคนแต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
             ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจ รัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ"คือมีความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่ สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิบาทซึ่งประกอบด้วย
           ๑.ฉันทะคือความพอใจในสิ่งนั้นในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็นอันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
            ๒.วิริยะคือความเพียรพยายามเมื่อครูพึงพอใจสนใจเอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
          ๓.จิตตะคือความตั้งใจจริงเอาใจใส่ฝึกฝนเพื่อเป้า หมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถ ฝึกฝนได้ถ้ามีความตั้งใจจริงแหล่งข้อมูลต่างๆที่จะใช้เพื่อเป็นแนวทางมีมาก มาย
                  ๔.วิมังสา คือความหมั่นติตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นในขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไรถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่มสภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย
          ๑.พัฒนาการรู้จักตนเองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้วก็จะเกิดความเข้าใจและยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
                ๒. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควรจะค้นหาวิธีใหม่ๆนำมาใช้ให้เหมาะกับตนเอง
                ๓.หมั่นตรวจสอบสิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
                ๔.ประเมินภาระงานใหม่ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
               ๕.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
                ๖. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการสัมมนาในหัวข้อที่สนใจเป็นต้น
                ๗. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษหรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่างๆเป็น ต้น
               ๘. พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของตนเองซึ่งจะเป็นการระบายความเครียดได้
               ๙.  ออกกำลังกายเมื่อเกิดความเครียดทั้งนี้จะได้ประโยชน์โดยการผ่อนคลาย
              ๑๐. โปรดอย่านำความเครียดมาระบายในชั้นเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านำความเครียดมาระบายกับผู้เรียน
            ๑๑. ถ้าท่านมีความเครียดมากจนไม่สามารถแก้ไข ได้ด้วยตนเองโปรดขอคำแนะนำจากจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำให้เกิด กับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
             ๑.ปฏิบัติตาม
             ๒. ทำให้เป็นนิสัย

 

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย    
   เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)  
 ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
       วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
  กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ       กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
     1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง      2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็น
ปกติ 
      เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
   แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
      การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน

        ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
      ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
     บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

กิจกรรมที่ 6

สรุปและแสดงความคิดเห็นมาตรฐานวิชาชีพและการนำไปใช้ประกอบวิชาชีพครู
         รองศาตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์  สารานุกลมวิชาชีพครู  เฉลิมพระ
เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     เนองในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา
         สรุปบทความมาตรฐานวิชาชีพ
        ทุกคนย่อมมีมาตรฐานวิชาชีพครู   เพื่อวัดหรือประเมินค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพครูตามมาตรฐานด้านความรู้  ทักษะประสบการวิชาชีพ  เพื่อความประส่งในการรักษาและพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงสุด  เพื่อให้สาธารณชนเห็นความสำคัญและคงอยู่ได้ด้วยมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
        มาตรฐานวิชาชีพทางด้านการศึกษามีความสำคัญยิ่ง  การสร้างบุคคลมีคุณคลมีคุณภาพ  มีศักยภาพจะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า   มาตราบานของประเทศไทยได้ค้นคว้าในรูปการวิจัย  มาตราบานวิชาชีพหมายถึงจุดมุงหมายหลักที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติ   ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู   เพื่อมีคุณภาพสูงสุด  บริการแก่สาธรรณชน   จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง   และสามารถสร้างความเชื้อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้บริหารวิชาชีพ  กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษาและต้องมีในอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น  เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะต้องให้ความรู้   ทักษะและความเชียวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  .2546มาตรา49ได้กำหนดไว้ 3ด้าน
 1 มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐาน  2 ส่วน
       -มาตราบานความรู้มีคุณวุฒิปริญญาตรี  ทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิที่ครุสภารับรอง
      -มาตรฐานประสบการวิชาชีพ  ต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน  และสาขาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาไม่น้อยกว่า1และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการครุกำหนด
  2  มาฐานการปฏิบัติงาน  12 ประการ
  3   มาตรฐานการปฏิบัติ    กำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฎิบัติวิชาชีพจะต้องปาระพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู   (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาสำนักงานเลขานุการคุรุสภา 2548 )  ปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศชาติ
การนำไปประยุกต์ใช้
      เน้นมาตรฐานวิชาชีพของตน  ในการบริหารผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด  ทั้งภายในภายนอกสถาบันภาควิชาและหน่วยงานต่างๆเช่นการสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะ คลินิก   ที่ให้บริการหลากหลาย  มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ  เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา  สำนักประเมินคุณให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ  .2546   การประยุกต์ใช้วิชาชีพมาตรฐานวิชาชีพ   ย่อมขึ้นกับความต่างของ วิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐาน
แสดงความคิดเห็น
     ครูที่ได้คุณภาพจะต้องมีคุณสมบัติที่ดี  มีความสุข  ความสามารถ   และผ่านการฝึกทักษะเป็นอย่างดี   เพื่อจะได้ซึ่งมาตรฐานวิชาครูชั้นสูง  มีจรรยาบรรณในความเป็นครูและจะต้องได้รับในการอนุญาตการสอนจากคุรุสภาก่อนและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้วิธการนี้ต่อไปเพราะจะทำให้ครูในสังคมไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่4

กิจกรรมที่ 4เรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง

 กิจกรรมที่4 ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงและสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด  ผู้อำนวยการ  สถาบันส่งเสริมกรจัดความรู้เพื่อสังคม
การเปลี่ยนแปลงไม่สามรถหลีกเลี่ยงได้     มีผลกระทบและสร้างหายนะและความสำเร็จและโอกาสใหม่ๆให้กับองค์กร  คาร์ล  คาร์วิน ผู้ที่อยู่รอด  มิใช้เป็นสายพันที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นที่สามรถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด  ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ   การรู้เปิดใจกว้างไม่ยึดติดอยู่กับความคิดหรือความรู้เดิมๆ  ถือเป็นการเปลี่ยนแปลง  ครั้งยิ่งใหญ่เป็นการเริ่มต้นสู้การเป็นรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ
เราจะเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างไร  เพื่อจะให้ได้มาซึ้งโครงสร้างองค์กรที่แบบราบไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย    เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช้เรื่องง่าย  เรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับคนองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้สำเร็จ  คือประสบการณ์ที่ผ่านมา  แม้ว่าวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นจะตื่นตาตื่นใจเพียงใด  แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ววิสัยทัศน์ที่วางไว้ก็จะไร้ความหมาย  ไม่มีน้ำหนัก  แต่ในทางตรงกันข้ามวิสัยทัศน์ไม่ดึงดูดใจเท่าไหร่   แต่ถ้าคนมีความชอบ  ความเชื่อ   หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดความสำสำเร็จได้มากทีเดียว
การยอมรับนับนับถือบุคคลนั้นจะต้องมีอะไรเหนือ  หรือโดดเด่นอยู่อย่างเช่นเรื่องคุณวุฒิ  วัยวุฒิ  ประสบการณ์   หรือความรู้ความสามารถ  แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน  แน่นอนว่าธุรกิจต่อการแข่งขัน  เป้าหมายคือชัยชนะแต่สำหรับผู้นำที่แท้จริง  ชัยชนะที่ได้มานั้น เขามองในฐานนะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน  ไม่ใช้เพียงตัวเขาเท่านั้น  และคิดถึงตัวเองเป็นคลสุดท้ายเสมอ  เป็นคนเสียสละยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ  สิ่งที่เราได้รับคือความศรัทธาและสามารถจะเชื่อใจ  ผู้ตามได้นั้นเอง ผู้นำที่พบทั่วไปส่วนมากมาจากตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่และขาดความเป็นผู้ให้   ขาดความเสียสละ  จึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีและไม่ดี

กิจกรรมที่5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อก  สิ่งที่ได้คืออะไร และจะใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
สิ่งที่ได้ก็คือต้นแบบที่ดีล้วนเป็นสิ่งที่ที่อยู่ในวงการศึกษามากมายเช่น  ครูต้นแบบ  โรงเรียนต้นแบบ   ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ  ผู้บริหารต้นแบบ  นักเรียนต้นแบบ   ผู้ปกครองต้นแบบ  ชุมชนต้นแบบอาจารย์ประยูร   ธรรมจิตโตได้ให้ความสำคัญของคำว่าต้นแบบว่ามีสองนัยเมื่อวันที่ 19  ตุลาคม  2544  ซึ่งในโอกาสที่ได้ไปเทิดพระเกียรติสมเด็ดย่ากับรองศาสตราจารย์   บุญนำ  ทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสวันพระราชสมภพครบรอบ101ปีที่ลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นัยแรก  คือ    ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ได้ดูแบบได้ศึกษาพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบเลียนแบบและ  ต่อมาก็ประยุกต์แบบ
นัยที่สอง คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการไผ่รู้ไผ่เรียนเป็นกำลังใจแก้ผู้ดูแลกระตุ้นให้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงามและท่านได้กล่าวถึงการศึกษา  การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้การศึกษาเป็นระบบกัลยามิตร   เป็นพรหมจรรย์  การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำกลังใจครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีสามประการคือต้นแบบสอนให้รู้  สอนให้ทำ  และอยู่ให้เห็น    หากครูเป็นต้นแบบที่ดีก็จะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ เกิดครูดี  ศิษย์ดี  ขยายต่อๆกันไป  ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้  ย่อมจะไม่เหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด   หากต้นแบบไม่เหมาะสมเยาวชนและประเทศชาติจะเป็นอย่างไร
ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองคือ
นำความรู้ที่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเป็นต้นแบบที่ดี  เป็นครูที่ดีไม่กระทำอบายมุขไม่เป็นต้นแบบของการฉ้อราษฎร์   ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและว่าจา   ต้นแบบของการประจบสอพลอ  เพราะจะทำให้สังคมเดือดร้อนไม่มีต้นแบบที่ดีไม่เป็นที่น่าชื้นชมแก่ศิษย์แล้วประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร  ดิฉันจึงอยากเป็นครูคนหนึ่งที่เป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กและลูกศิษย์  และจะสอนวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้เต็มความสามารถเพื่ออนาคตของคนในประเทศชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

อ่านรายละเอียด
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด

เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนาย อารีย์ ตันติเวชกุล อดีต ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ท่านผู้หญิง ประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องพระกระยาหารไทยในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมรสกับคุณหญิง จินตนา ตันติเวชกุล อาจารย์ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การศึกษา
- วชิราวุธวิทยาลัย
- ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียตนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
- ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
- ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier) ประเทศฝรั่งเศส
- ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
- วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23

การทำงาน
พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
- พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

รางวัลเกียรติคุณ
 รางวัลบุคคลตัวอย่างประจำปี 2537
- รางวัลผู้บริหารราชการ ดีเด่น ประจำปี 2538
- รางวัลบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
- รางวัลบุคคล ดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541


หนังสือที่แต่ง
 -ใต้เบื้องพระยุคลบาท ,2543
- หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ,2549 



เหตุผลที่ชอบท่าน
    เพราะท่านเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและยังเป็นคนที่รู้จักกันในสังคมไทยและท่านยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในสังคมได้และท่านเป็นพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้น

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
  
หลักการ/เจ้าของทฤษฏี
โบรฟี (สุภวรรรณ:2551) ได้กล่าวถึงการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า  หมายถึงการที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้และที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพการสร้างกฏระเบียและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง
เบอร์เดน (ศุภวรรณ : 2551 )  ให้คำจำกัดความของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นยุทศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ซูซาน (ศุภวรรณ : 2551 )  ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่าเป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึนในชั้นเรียนซึ่ง๔อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ต่อไป
          การนำหลักไปใช้ฝ
นำไปบริหารจัดชั้นเรียนเวลาสอนนักเรียนจริงในอณาคตเช่นหลักการจัดบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนการสอน
สรุปไดว่า เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน  อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
 5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
         อ้างอิง     
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ: บุ๊ค  พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่1
       ความหมาย การจัดการชั้นเรียน
      กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน  นับแต่บุคลิกภาพ  ความรู้ความสามารถ  เจตคติ  พฤติกรรม คุณธรรม  เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม   โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล  และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม  เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
        การจัดการชั้นเรียนสรุปได้ว่า
             การจัดการชั้นเรียนหมายถึง กิจกรรมที่ทำรวมกันเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ความสามรถหรือพัฒนาบุคคลตรงเป้าหมายที่ต้องการทางสังคม

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

    ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาว สมฤดี     ตีมุง   ชื่อเล่น   ฮา
เกิดวันที่  9  พฤษภาคม  พ.ศ  2531
มีพี่น้อง 3 คน  ดิฉันเป็นคนที่หนึ่ง
บิดากับมารดามีอาชีพค้าขาย
อยู่บ้านเลขที่ 184  หมู่7  ตำบลแว้ง  อำภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส


    ประวัติการศึกษา
-  เรียนอนุบาลที่โรงรียนวุฒิศาสตร์  อำเภอแว้ง
-  เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านฆอลาะทูวอ   อำเภอแว้ง
-  เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนรอมาเนีย  อำเภอแว้ง
-  ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช  ชั้นปีที่ 3


     ปรัชญา
     ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น