ต้นแบบแห่งการเรียนรู้
สิ่งที่ได้ก็คือต้นแบบที่ดีล้วนเป็นสิ่งที่ที่อยู่ในวงการศึกษามากมายเช่น ครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบอาจารย์ประยูร ธรรมจิตโตได้ให้ความสำคัญของคำว่าต้นแบบว่ามีสองนัยเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 ซึ่งในโอกาสที่ได้ไปเทิดพระเกียรติสมเด็ดย่ากับรองศาสตราจารย์ บุญนำ ทานสัมฤทธิ์ ในโอกาสวันพระราชสมภพครบรอบ101ปีที่ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นัยแรก คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ได้ดูแบบได้ศึกษาพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบเลียนแบบและ ต่อมาก็ประยุกต์แบบ
นัยที่สอง คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการไผ่รู้ไผ่เรียนเป็นกำลังใจแก้ผู้ดูแลกระตุ้นให้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงามและท่านได้กล่าวถึงการศึกษา การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้การศึกษาเป็นระบบกัลยามิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมมีกำกลังใจครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีสามประการคือต้นแบบสอนให้รู้ สอนให้ทำ และอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดีก็จะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ เกิดครูดี ศิษย์ดี ขยายต่อๆกันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไม่เหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอด หากต้นแบบไม่เหมาะสมเยาวชนและประเทศชาติจะเป็นอย่างไร
ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองคือ
นำความรู้ที่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเป็นต้นแบบที่ดี เป็นครูที่ดีไม่กระทำอบายมุขไม่เป็นต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและว่าจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ เพราะจะทำให้สังคมเดือดร้อนไม่มีต้นแบบที่ดีไม่เป็นที่น่าชื้นชมแก่ศิษย์แล้วประเทศชาติจะเจริญได้อย่างไร ดิฉันจึงอยากเป็นครูคนหนึ่งที่เป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็กและลูกศิษย์ และจะสอนวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้เต็มความสามารถเพื่ออนาคตของคนในประเทศชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น